วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลเห็ดขอนขาว เห็ดบด


ข้อมูลเห็ดขอนขาว เห็ดบด
          
 เห็ดขอนขาวเห็ดบด
       เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและการเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏาน เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและการเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏาน เพียงแต่ความชื้นที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดดอกจะมีสูงกว่า และจะต้องมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหารของก้อนเห็ด ก่อนจะนำไปเปิดดอกเหมือนเห็ดหอม  และในปัจจุบันเห็ดขอนขาวและเห็ดบดกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในลักษณะของการจำหน่ายดอกเห็ดสด หรือเห็ดขอนขาวและเห็ดบดแปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างสูงทีเดียวในบรรดาเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกเรียกได้ว่า  ไม่ถูกไปกว่าราคาของเห็ดหอมเลยทีเดียวซึ่งรสชาดของเห็ดจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวการพัฒนาสายพันธุ์มายาวนาน  จนในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ที่ส่งเสริม หรือ แนะนำให้เพาะจึงง่ายต่อการดูแลรักษาแต่    ให้ผลผลิตสูงซึ่งเป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลาเคี้ยวจะได้รสชาติดีทำอาหาร  ได้ทั้งผัดและต้มแกง  ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆปัจจุบันเริ่ม  มีการเพาะเห็ดนี้กันมากขึ้น  แต่ผลผลิตยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด    

 
  

สิ่งสำคัญที่เห็ดขอนขาว เห็ดบดต้องการทั่วไป
1.ธาตุอาหาร (Nutrition)               เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้(Hetrotroph)จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูปจากแหล่งต่างๆเช่นไม้ผุหรือปุ๋ยหมักเป็นต้น  เป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยอาหารเชิงซ้อน  โดยเฉพาะ พวกที่ให้พลังงานได้เช่นธาตุคาร์บอนที่อยู่ในรูปเชิงซ้อน ได้แก่
พวกลิกนิน (Lignin)  ฮิมิเซลลูโลส (Hemicellulouse)  โดยเส้นใยเห็ดมีน้ำย่อยทำการย่อยธาตุอาหารด้วยตัวมันเองได้  และนำเอาไปใช้พลังงานที่ใช้ในการเจริญเติบโต  และแบ่งเซลของมันจากเหตุผลดังกล่าว  จึงสามารถใช้วัสดุเพาะโดยตรงได้เลย  โดยไม่จำเป็นต้องทำการหมัก
เสียก่อนยกเว้น  วัสดุบางชนิดที่มียางที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด หรือ เป็นวัสดุที่แข็งยาว  ยากต่อการนำเอาไปบรรจุในถุง   เช่น ฟางข้าวต้น  ข้าวโพด  ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ  เป็นต้น   ควรทำการหมักให้นิ่มก่อน หรือ ให้จุลินทรีย์  ช่วยย่อยให้ระดับหนึ่งก่อน  แต่ไม่ถึงกับหมักจนเน่าสลายเหมือน การหมักปุ๋ยเห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง
               ธาตุอาหารเกลือแร่และวิตามินหลัก   ที่เห็ดต้องการมีเช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไปจะต่างกันเพียงแต่รูปร่างของธาตุอาหารเท่านั้นเห็ดต้องการมากแต่มักจะขาดแคลนในปุ๋ยหมัก ได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน เกลือแร่และวิตามิน
               ธาตุคาร์บอน (Carbon)    สามารถใช้คาร์บอนที่สลับซับซ้อนได้   ดังนั้นการใช้วัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย  จากไม้เนื้ออ่อนเหมือนเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติกชนิดอื่น  ได้แต่ถ้ามีการเติมแหล่งคาร์บอนที่อยู่ในรูปง่ายเช่นเซลลูโลสแป้งและน้ำตาลเข้าเสริมในวัสดุเพาะ
ในปริมาณที่พอควร   เส้นใยของเห็ดก็จะเจริญได้ดี
               ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen ,N.)       เป็นเห็ดที่มีโปรตีนสูงมาก  ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ  โปรตีนโดยมีอยู่ประมาณ 16%   ดังนั้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดจะต้องอาศัย ไนโตรเจนเป็นอาหารที่สำคัญด้วย  ไนโตรเจน ที่เห็ด
สามารถนำไปใช้ได้ดีนั้น  คือ ไนโตรเจนในรูปอินทรีย์สารที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดมากที่สุด  คือ โปรตีนที่มีอยู่ในส่าเหล้ารำละเอียด ใบกระถิ่นป่น แต่จากการศึกษาการใช้ไนโตรเจนในรูปของ อาร์จินีน (Arginine) จะช่วยในการกระตุ้นให้เห็ดออกดอกมากขึ้น  และดีขึ้น
                เกลือแร่ (Minerals)    เกลือแร่ก็เป็นอาหารที่สำคัญของเห็ดโดยแบ่งเป็นกลุ่มคือ: -
ที่ต้องการมาก ได้แก่ ฟอสฟอรัส (P) โปรแตสเซียม (K) กำมะถัน (S) แคลเซียม (Ca) แมกนีไซด ์(Mg) ที่ต้องการน้อย ได้แก่ โมลิปตินัม (Mb)
โบรอน (B) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) สังกะสี(Zn) และอื่นๆ
               ฟอสฟอรัส    จากดับเบิลฟอตเฟสมีผลทำให้เส้นใยเห็ดแข็งแรงเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว  ส่วนธาตุแมกนีเซียมที่อยู่ในรูปของดีเกลือ(MgSo4 7 H2O)  และฟอสเฟตในรูป  Potassium dihydrogen phosphate  มีผลทำให้เส้นใยของเห็ดเจริญเติบโตเข้าไปในวัสดุเพาะ  และ
รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้เร็วยิ่งขึ้น  แต่หากใส่มากเกินไปดอกเห็ดจะมีก้านยาวสีซีดดอกเห็ดมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยสมบูรณ์   หากนำไปผสมน้ำรดตอนที่ดอกเห็ดเกิดเป็นดอกแล้ว  ดอกเห็ดจะฝ่อตายได้ง่าย  นอกจากนี้ยังพบว่าธาตุบางอย่าง เช่น โวเดียมที่มีอยู่ในรูปเกลือแกง NaCl มีผลยับยั้ง
การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด  เป็นการยืนยันว่าพื้นที่ใดที่มีอิทธิผลของน้ำทะเลเข้ามาถึงน้ำที่มีความเค็ม  เช่นน้ำกร่อยหากนำมารดในวัสดุเพาะเห็ดจะให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของน้ำทะเล หรือจำนวนเกลือแกง
               วิตามินหรือฮอร์โมน Vitamins    จากการศึกษาพบว่ามีวิตามินบี (Thiamine) ในระดับความเข้มข้น0.5มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดได้  ฮอร์โมน  กิบเบอราอิค  แอซิค  Giberellic  Acid ที่สกัดจากเชื้อราที่เรียกว่า   Gibberella  ferjikuroi (Saw) Wollen  ขนาดความเข้มข้น 0.001% มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดการใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวนน้อย  รดที่วัสดุเพาะหรือดอกเห็ดจะทำให้เส้นใยหนา ดอกเห็ดมีน้ำหนักดี
2.อุณหภูมิ Temperature
             อุณหภูมิก็นับว่ามีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดอยู่ไม่น้อย  อุณหภูมิ  24 - 30 C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเส้นใยและดอกเห็ด
3.ความชื้น Humidity
             องค์ประกอบเห็ดทุกส่วน  ไม่ว่าเส้นใยเห็ดหรือดอกเห็ด  จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง  90%  ยกเว้นสปอร์น้ำมีความจำเป็นต่อกระบวนการต่างๆ  และการรักษาสภาพอุณหภูมิภายในเซลล์  ดังนั้นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเจริญ
เติบโตของเส้นใยเห็ด  การเกิดดอกการเจริญเติบโตของดอกเห็ดล้วน  แต่ต้องการความชื้นสูง  โดยปกติแล้วเว้นเสียแต่ระยะที่ทำให้เกิดดอกต้องเปิดปากถุงให้สัมผัสกับบรรยากาศ  โดยจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง  80-90 %
4.อากาศ (Air)
             คำว่าอากาศในที่นี้  หมายถึง  ก๊าซออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์  จากภายในวัสดุเพาะหรือโรงเรือนเพาะเห็ด ทุกระยะของการเจริญเติบโตของเห็ด ล้วนแล้วแต่ต้องการอากาศในการหายใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะของการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ด
5.แสง (Light)
             ช่วงที่เส้นใยเห็ดเจริญเติบโต  ไม่ต้องการแสง  ช่วงที่เส้นใยสะสมอาหารและกำลังจะรวมตัวเป็นดอกเห็ด  พบว่าแสงมีความจำเป็นในการกระตุ้นให้เกิดเส้นใยของเห็ด  รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดแสงรำไรที่ส่องเข้าไปในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ  และทั่วถึงจะทำให้ดอกเห็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ดียิ่งขึ้นหากแสงไม่เพียงพอ ดอกเห็ดจะโน้มไปหาแสงที่มีความเข้มข้นสูง ในทางตรงข้าม หากแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะสีคล้ำและแห้งง่าย
6.ความเป็นกรด-ด่าง (PH)
             ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการอยู่ในระดับค่าเป็นกลาง 6.5-7.5
7.สารพิษ
             ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารประกอบที่มีพิษกับการเพาะเห็ดขอนขาว เห็ดบด

วัสดุ อุปกรณ์ ที่สำคัญในการเพาะเห็ดขอนขาว เห็ดบด
วัสดุเพาะ       วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด  คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน  เช่น  ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์  กากเป็นไม้เนื้อแข็ง  เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน  ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน  วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย   คือ  ฟางข้าว  ต้นข้าวโพดต้นข้าวฟ่าง   วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด  จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี  ไม่มีกลิ่นไม้  รสชาติดีกว่า   แต่ต้องทำการหมักจนกว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม  จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดได้
สูตรอาหาร     
เป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง   ดังนั้น  การที่จะเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูง  คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริมหรือเติมธาตุอาหารที่เห็ดต้องการเข้าไปให้ครบถ้วน

.
สูตรอาหารสำหรับเห็ด
.สูตรทั่วๆไป
               ขี้เลื่อยแห้ง                    100 กก.            รำละเอียด             10 กก.            ใบกระถิ่นป่น              3 กก.
               ข้าวโพดป่นหรือแป้ง            1 กก.            ส่าเหล้า                  1 กก.            หินฟอสเฟต              1 กก.
               ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว       1 กก.           ดีเกลือ                 0.1 กก.

การบรรจุถุงพลาสติก     ถุงพลาสติกที่นำมาบรรจุวัสดุเพาะเห็ดนิยมใช้ถุงกันร้อน  พับก้นเรียบร้อยแล้ว  สำหรับวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย นิยมใช้ถุง  ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.10 มม.  ถ้าเป็นฟางใช้  9x13 นิ้วหนา. 10มม.  การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงนั้นควรบรรจุประมาณ 3 ใน 4 ของความสูง กด ทุบ เพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรหรือพยายามให้อากาศเหลือน้อยที่สุดในถุง แล้วจึงใส่คอขวด อุดด้วยจุกประหยัดสำลี


การนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
          การนึ่งฆ่าเชื้อนั้นจะนึ่งด้วยหม้อนึ่งแบบไหนก็ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรระวัง คือ
          1. อุณหภูมิที่ใช้ คืออุณหภูมิน้ำเดือดธรรมดา 98-100 องศาเซลเซียส
          2. ต้องไล่อากาศออกให้สม่ำเสมอ  เพราะนอกจากนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้ว  จะต้องไล่ก๊าซพิษออกให้หมด  ด้วยวิธีการทดสอบว่าไล่ก๊าซพิษออกหมดหรือยังให้สังเกตจากกลิ่นด้วยการผ่าก้อนเชื้อและดมดูหรือดมกลิ่นไอที่ระบายออกมาจากหม้อนึ่ง  ขณะที่ทำการนึ่ง  ใช้เวลาการนึ่งนับตั้งแต่น้ำเดือดพ่นออกจากปากท่อระบายไอออกอย่างสม่ำเสมอ  จึงทำการจับเวลา   การจะใช้เวลานานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของหม้อนึ่งโดยปกติหากเป็นหม้อนึ่งขนาดเล็กที่นึ่งได้ไม่เกิน 100 ก้อน  ใช้เวลานึ่งประมาณ 2 - 3 ชม.  ขนาดไม่เกิน 1,000 ก้อน  ใช้เวลานึ่ง 3 - 4 ชม.หากใหญ่กว่านั้นให้ใช้เวลา     4-6 ชม.
          3. เมื่อนึ่งสุกแล้ว เอาออกจากหม้อนึ่งไว้ในที่สะอาด จะให้ดีควรคลุมด้วยมุ้งผ้าฝ้าย เพื่อกันไม่ให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคตกลงไป

การเขี่ยเชื้อ
          สำหรับหัวเชื้อที่ใช้ควรเป็นเชื้อบริสุทธิ์ไม่มีการถ่ายเชื้อหลายครั้งก่อนเขี่ยเชื้อควรทำการเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกันก่อน 1-2 วัน เพื่อ

          1. สะดวกแก่การนำไปใช้
          2. เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกัน  เส้นใยเห็ดยังได้รับความบอบช้ำอยู่   หากนำเอาไปใช้เลย  อาจถูกเชื้อโรคเข้าไปทำลายหรือแข่งขันได้
          3. เพื่อให้เชื้อเห็ดเจริญเข้าไปในเนื้อเมล็ดข้าวฟ่างมากขึ้น  เพราะระยะแรกเส้นใยเห็ดเจริญเฉพาะบริเวณรอบๆเมล็ดนั้นจะทำให้ประหยัดและเชื้อเห็ดพุ่งแรงมาก
          4. ลดความเสี่ยงทั้งนี้เนื่องจาก  หากเชื้อไม่บริสุทธิ์ หลังจากทำการเขย่าแล้วเชื้อคู่แข่งที่แฝงติดอยู่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่า   เชื้อเห็ดจะไม่เจริญหรือเจริญไม่สม่ำเสมอ  ก็คัดทิ้งออกก่อนที่จะนำไปใช  ้เพราะหากเชื้อไม่บริสุทธิ์เมื่อเอาไปใช้ก้อนเห็ดที่ใช้หัวเชื้อขวดนั้นก็คงเสียทั้งชุดหัวเชื้อเห็ดที่ยังไม่นำไปใช้เมื่อเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว  หากยังไม่นำเอาไปใช้ควรทำการเขย่า แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นแช่ผักที่อุณหภูมิประมาณ 8 - 10 องศาเซลเซียส  จะเก็บได้นานเป็นเดือนก่อนใช้นำมาเขย่าเก็บไว้อีก 2 - 3 วัน  เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟื้นตัวเสียก่อน  วิธีการเขี่ยเชื้อหลังจากที่ก้อนวัสดุเพาะที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว  ให้นำเอาเข้ามาในห้องที่สะอาดหรือสถานที่ที่ทำการเขี่ยเชื้อ  ถ้าเป็นห้องเขี่ยเชื้อควรเป็นห้องที่สะอาด ก่อนและหลังการนำเอาของเข้ามาในห้องเขี่ยเชื้อ ควรทำความสะอาดพื้นห้องทุกครั้ง   ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ  เช่น  แอลกอฮอล์  น้ำยาคลอรีน
             ผสมน้ำเช็ดหรือถูพื้น  ข้างฝาทุกๆ 10 - 15 วัน   ควรปิดห้องเพื่อทำการอบฆ่าเชื้อในบรรยากาศหรือตามซอกตามมุม   โดยใช้ด่างทับทิมผสมฟอร์มาลิน อบทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง  หากไม่มีห้องเขี่ยเชื้อ ให้ใช้มุ้งผ้าฝ้ายที่สะอาดคลุมกองก้อนวัสดุเพาะแล้ว  จึงทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไปก่อนที่จะทำการเขี่ยเชื้อลงไปนั้นให้ใช้  แอลกอฮอล์ หรือ น้ำยาคลอรีน  เช็ดปากขวดหัวเชื้อเสียก่อน  จากนั้นจึงเทหัวเชื้อใส่เข้าไปยังปากถุงอย่างรวดเร็วโดยการเปิดจุกประหยัดสำลีออก  ใส่หัวเชื้อลงไป 15 - 20 เมล็ด ก็พอ  รีบปิดปากถุงตามเดิมทันที  จากนั้นจึงทำการเทหัวเชื้อในถุงต่อไปทันที  หากเป็นไปได้ อย่าพยายามตั้งขวดหัวเชื้อขึ้น  เพราะเท่ากับเป็นการดูดเอาอากาศที่สกปรกเข้าไป  หัวเชื้อเห็ด 1 ขวด เขี่ยได้ 50 ถุง



การบ่มเชื้อ
               หลังจากการใส่หัวเชื้อเห็ดลงไปแล้ว  นำเอาไปบ่มในห้อง  สำหรับการบ่มเชื้อ หรือ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกเลยในระยะที่ทำการบ่มเชื้อนั้น  ไม่มีการรดน้ำ  ไม่ต้องการแสง ดังนั้นภายในโรงบ่มมีเพียงแสงสลัวๆก็พอ  เพราะถ้าหากแสงมากเกินไปเส้นใยเห็ดจะเจริญช้า และต้องการอุณหภูมิห้องธรรมดา  ประมาณ 24-28 องศา
- ในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดขอนขาว เห็ดบดจะใช้เวลาประมาณ 50
 
วัน  เชื้อจะเดินเต็มถุง แล้วจึงจะนำไปเปิดปากถุง -
                                                     

การกระตุ้นให้ออกดอก
               เมื่อเส้นใยเห็ดเจริญเต็มวัสดุเพาะแล้ว สามารถนำไปกระตุ้นให้เกิดดอกได้  โดยเห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการปัจจัยในการออกดอก  ดังนี้

          1. ต้องการพักตัวในการสะสมอาหารก่อนการเปิดดอก
          2. อากาศในโรงเรือนมีการถ่ายเทของอากาศ ปานกลาง
          3. อุณหภูมิในช่วงของการเปิดดอก 24-30 องศาเซลเซียส
          4. ความชื้นที่ต้องการ 80 - 85 %
          5. ออกดอกรุ่นแรก 10 วัน
          6. อายุดอก 1 วัน
          7. เว้นระยะแต่ละรุ่น 15-20 วัน
          8. จำนวนครั้งที่มีดอก 12-18 ครั้ง
          9. ผลผลิตเฉลี่ย/รอบ 20-25 กรัม
         10. ผลผลิตเฉลี่ย/ก้อน 200-250 กรัม
         11. ราคาประกันรับซื้อ 120 บาท/กก.
                    

                การดูแลรักษาสำหรับช่วงที่ทำให้เกิดดอกเห็ดนี้  ควรศึกษาสภาพแวดล้อม  และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดอกเห็ดให้ถ่องแท้เพราะจะทำให้การแก้ปัญหา ได้ดียิ่งขึ้นส่วนประกอบของเห็ดขอนขาว เห็ดบดที่ได้จากการเพาะ 100 กรัม (ดอกสด)
          ความชื้น                   89.90               โปรตีน               2.73                ไขมัน                0.048
          คาร์โบไฮเดรต             5.08                เยื่อใย               0.487               เถ้า                   0.677
          แคลเซี่ยม                   6.44                เหล็ก                1.60                 ฟอสฟอรัส        83.56
          วิตามินบี 1                  0.006              วิตามินบี 2         0.15                ไนอาซิน             3.11

.
อุปสรรค ปัญหาและการแก้ไข ของเห็ดขอนขาว เห็ดบด (บางส่วน)
เขี่ยเชื้อเห็ดลงไปแล้ว เส้นใยเห็ดไม่เจริญออกมาเป็นดอกเห็ด
              มีหลายสาเหตุ ด้วยกัน คือ
          **** เชื้อเห็ดตาย หรือเสีย
          **** ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดในขณะที่ก้อนวัสดุยังร้อนเกินไป
          **** ก้อนวัสดุเพะมีก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนียหลงเหลืออยู่

เชื้อเห็ดเจริญเติบโตไม่ถึงก้นถุงแล้วหยุดชะงัก อาจมีสาเหตุมาจาก
          **** ก้อนเชื้อเปียก หรือ มีความชื้นมากเกินไป
          **** อุณหภูมิห้องบ่มสูงเกินไป ในกรณีนี้ ควรทำการรดน้ำที่พื้นโรงเรือน พร้อมทั้งเปิดประตู หรือฝาด้านข้างให้ลมโกรกเอาความร้อนออก
ดอกเห็ดที่เกิดรุ่นหลัง ดอกเห็ดแห้งเหี่ยวตาย อาจมีสาเหตุมาจาก
          **** เกิดจากการรักษาระดับความชื้นไม่พอดี
          ****รดน้ำมากเกินเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายดอกเห็ด  ดังนั้น ในระยะออกดอกอย่าพยายามรดน้ำให้ถูกดอกเห็ดมากเกินไป  ควรรดเฉพาะที่พื้น ข้างฝา เพดาน และฉีดเป็นฝอยละเอียดไปที่ดอกเห็ดเล็กน้อย
ก้อนเชื้อหมดอายุเร็ว และให้ผลผลิตต่ำ
          **** วัสดุเพาะถูกหมักนานเกินไป ก่อนที่จะนำเอามาเพาะเห็ด
          **** ใช้ขี้เลื่อยไม่เนื้ออ่อนเกินไป
          **** มีการสะสมเชื้อโรคภายในโรงเรือน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้ามาทำลายเชื้อเห็ดได้
.

ที่มา nectec.or.th

การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ


          งานวิชาการเกษตรดำเนินกิจกรรมการศึกษาทดสอบ
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดขอนขาว เห็ดยานางิ(เห็ดโคนญี่ปุ่น) เป็นต้น และขยายผลสู่เกษตรกร
ในพื้นที่ศูนย์ฯ โดยการนำเกษตรกรที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม
ฝึกปฏิบัติและกลับไปเพาะเห็ดในพื้นที่ของตนเอง
ระยะแรกเกษตรกรก่อตั้งกลุ่มเพาะเห็ดเศรษฐกิจ สมาชิก 4 ราย
ดำเนินการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งจำหน่ายตลาดในท้องถิ่น
           ปัจจุบันกลุ่มเพาะเห็ดมีสมาชิก 10 ราย ทำการเพาะเห็ด ยานางิ
เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่า มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 บาท/เดือน
นอกจากนี้กลุ่มยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ด
แก่เกษตรกรผู้สนใจงานวิชาการเกษตรศูนย์ฯได้ดำเนินโครงการ
เพื่อสนับสนุนงานอาหารกลางวัน โดยการให้โรงเรียนในพื้นที่ศูนย์ฯ และนอกพื้นที่
ที่มีความสนใจ นำนักเรียนเข้าฝึกปฏิบัติทำก้อนเชื้อเห็ดและนำก้อนเห็ด
ที่ได้กลับไปเปิดดอกที่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันและ
ยังเป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพแก่นักเรียน เห็ด เป็นอาหารที่รู้จักกันมานาน
ว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมได้ด้วยโปรตีนเทียบเท่ากับ
เนื้อสัตว์เป็นที่นิยมบริโภคในหมู่ชาวมังสวิรัติ และในปัจจุบันเห็ดชนิดต่างๆ
ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
3.การทำก้อน


เห็ดยานางิ
เห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ด
สูตรอาหาร PDA
1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
4.น้ำสะอาด 1,000 cc
วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ
- นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
  นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
- กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว
- บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
- นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
   นาน 25-30 นาที
- เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
- เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ
การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง
1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง                
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก                                                                                   
3.ผึ่งให้แห้ง                                                                                                  
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด    
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA
         
                การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย
เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น
หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
และจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น
 
การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
สูตรอาหารก้อนเชื้อ
-  ขี้เลื่อย 100 กก.                    - รำละเอียด 5 กก.                 - ดีเกลือ 0.2 กก             
- ปูนขาว 1 กก.                        - น้ำสะอาด 70-75%
ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ
ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
- หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
  ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
  ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
-  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
  ขนาด 8 ขีด - 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
   แล้วรัดยางวงให้แน่น
-  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
-  นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
   เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
   ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
-  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป
การบ่มก้อนเชื้อ
       หลังจากใส่เชี้อเห็ดลงในถุงก้อนเชื้อแล้วให้นำไปบ่มในโรงบ่มเชื้อ
หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 29-32 องศาเซลเซียส
เพื่อให้เส้นใยเจริญในก้อนเชื้อและต้องหมั่นตรวจดูโรงแมลง
มด มอด แมลงสาบ ปลวกหรือไรต่างๆ หากพบให้รีบนำก้อนเชื้อออกไปกำจัดทันที
หรืออาจฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เช่น ตระไคร้หอม รอบๆ โรงบ่ม
เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อก็ขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด
อย่างเห็ดหอมก็จะใช้ระยะเวลา 4 เดือน
การปฏิบัติดูแลรักษา
        เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก
รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน
ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง
นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง
การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ
       ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน
ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก.
ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ
พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่
ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง
อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก
โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้

ที่มา fisheries.go.th

ชื่ออื่น : เห็ดมันมะม่วง เห็ดมัน เห็ดขอนขาว


เห็ดขอนขาว

 
ขอนขาว1.JPG
ชื่ออื่น : เห็ดมันมะม่วง เห็ดมัน เห็ดขอนขาว
ประโยชน์ทางอาหาร : ใช้ทั้งดอก-นำมาแกงกับปลาย่างใส่ผักชะอม นึ่งจิ้มน้ำพริก และแกงแคร่วมกับผักชนิดอื่นๆ
ประโยชน์ทางยา : ดอก-บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ไข้พิษ ช่วยระบบขัถ่ายทำงานดีขึ้น
ฤดูที่ใช้ประโยชน์ : ฤดูฝน
สภาพที่เหมาะเจริญเติบโต : เป็นเห็ดที่เกิดจากขอนไม้ ขึ้นเป็นดอกเดียวหรือเป็นกลุ่มโคนติดกัน
คุณค่าทางอาหาร เห็ดขอนขาว 100 กรัม ให้พลังงาน 48 กิโลแคลอรี น้ำ 87.5 กรัม โปรตีน 3.3 กรัม เส้นใย 3.2 กรัม ฟอสฟอรัส 163 มิลลิกรัม

ผัดเผ็ดเห็ดขอนขาวและซี่โครงหมูอ่อน

ผัดเผ็ดเห็ดขอนขาวและซี่โครงหมูอ่อน

ที่ตลาดยิ่งเจริญ จะมีแผงที่ขายสินค้าพื้นบ้านอยู่ เวลาผ่านก็เห็นแม่ค้านำเห็ดขอนขาวมาใส่ถาดวางจำหน่ายอยู่ ดอกเห็ดมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 4 ซ.ม. ก็เละเข้าไปคุยกับแม่ค้าดูว่าเป็นเห็ดอะไร ไปทำอาหารอะไรได้บ้าง แม่ค้าก็บอกว่าเป็นเห็ดพื้นบ้าน ชาวอิสานก็ไปทำแกงต่างๆ เช่นแกงอ่อมทานได้ และขาย กก. ละ 100 บาท ก็เลยซื้อมาทำอาหารทานดู ทำพวก แกงเผ็ดต่างๆ รสชาติใช้ได้ เนื้อเห็ดหวานมาก แต่ ก้านเห็ดค่อนข้างจะแข็งไปนิด หลังจากนั้นก็ไปค้นอินเตอร์เนตดูเกี่ยวกับเห็ดขอนขาว ถึงได้รู้ว่า ปัจจุบันนี้ เขาเพาะพันธ์ได้แล้ว เห็ดขอนขาวที่ขายกันอยู่ก็มาจากฟาร์มทั้งนั้น ตอนนี้ก็ซื้อเห็ดขอนขาวมาทำอาหารต่างๆ 

ตลาดสี่มุมเมืองที่รังสิต เป็นแหล่งที่มีอาหารพื้นบ้านต่างๆ มาขายมาก ช่วงเย็นๆ ประมาณ 5 โมง ก็จะมี พ่อค้า แม่ค้า ลำเลียงสินค้าเข้ามาขายในตลาด ตลาดมีขนาดใหญ่มากๆ ดังนั้นถ้าจะไปซื้อของก็จะต้องรู้ว่าไปซื้อบริเวณใหน หรือ ที่ตลาดย่อยใด ตอนที่ไปตลาดสี่มุมเมืองก็เข้าไปที่ตลาดที่ขายผัดพื้นบ้าน ตั้งใจจะไปหาซื้อใบมะขามอ่อนมากต้มแซบกระดูกหมูอ่อนทาน บังเอิญรถที่จะมาส่งใบมะขามอ่อนเขาหยุดไป 2 วัน เลยไม่มีใบมะขามอ่อนขาย ก็เลยเดินชมผักพื้นบ้านไปเรื่อยๆ ไปเจอแผงขายส่งเห็ดขอนขาวพอดี เลยซื้อเห็ดขอนขาวมา 1 กก. 80 บาท เท่านั้น ถูกกว่าที่ตลาดยิ่งเจริญ 

เนื่องจากมีซี่โครงหมูอ่อนต้มเปื่อยไว้แล้ว ก็เลยนำมาผัดเผ็ดกับเห็ดขอนขาวดีกว่า
เห็ดขอนขาว


ปกติทั่วไปเราจะทานเห็ดขอนขาวทั้งดอก แต่บังเอิญที่บ้านมีผู้ใหญ่อยู่ ทานของแข็งๆ ไม่ค่อยได้ ก็เลยตัดก้านที่แข็งของเห็ดออกไปนิดนึง 


ตั้งกระทะ เอาหอมใหญ่ เครื่องแกงลงไปผัดก่อน


ใส่ซี่โครงหมูอ่อนที่ต้มเปื่อยไว้แล้วลงไปผัด


ผัดให้ซี่โครงหมูคลุกเคล้ากับเครื่องแกงให้หอม ใส่น้ำมันไปเยอะๆ เอาแบบแกงพม่า ไม่ใส่กระทิ (ไม่กลัวอ้วน)


เติมเห็ดขอนขาวลงไป


ผัดให้เข้ากันทั้งหมด ปรุงรส เติมใบมะกรูด


เรียบร้อย ผัดเผ็ดเห็ดขอนขาวซี่โครงหมูอ่อน


ทานกับข้าวสวยร้อนๆ และ


ที่มา bloggang.com

ผลการเพาะเห็ดขอนขาว


จากความพยายามที่จะทดลองเพาะเห็ดขอนขาวเองที่บ้าน โดยทำทิ้งไว้เมื่อเดือน มกราคม53
ช่วงนั้นได้เชื้อเห็ดมาจากจังหวัดศรีสะเกษ โดยความบังเอิญ ประกอบกับได้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงหลายต้น
ก็เลยเป็นที่มาของขั้นตอนการทำ แบบสรุป(ส่วนแบบละเอียดดูจากเวปเรื่องการเพาะเห็ดขอนขาวของนักเรียนแห่งหนึ่ง จำชื่อโรงเรียนไม่ได้ค่ะ)
1.ตัดกิ่งมะม่วงเป็นท่อน ใช้สว่านเจาะรูห่างๆ ลึกประมาณ 2นิ้ว เจาะในขณะที่ไม้ยังไม่แห้ง
2.หยอดเชื้อเห็ดลงประมาณ 8-10 เมล็ด (ที่เป็นเมล็ดเพราะว่าโรงเพาะเชื้อเขาใช้เมล็ดนุ่นเป็นตัวเดินเชื้อ)
3.ใช้ขี้เลื่อยปิดรูให้แน่น นำไปวางไว้ในร่ม ทิ้งไว้ให้เชื่อเห็ดเดินทั่วไม้ และสภาพอากาสเหมาะสมเห้ดจะออกดอกมาให้เก็บเองภายใน 3-6 เดือน ตามคุณภาพของเชื้อและการเก็บรักษา
อีกวิธีหนึ่งที่ไม่ยุ่งยากมากนักและน่าสนใจเลยขออนุญาตก๊อปมาฝากดังนี้ค่ะ

การ เพาะเห็ดลมและเห็ดขอนขาว
เห็ดลม เป็นชื่อที่เรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ในธรรมชาติมักพบขึ้นกับไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้เต็ง รัง เทียง ตะเคียน และไม้กระบาก เป็นต้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev.
เห็ดขอนขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Lentinus squarrosulus Mont. ในธรรมชาติมัก พบขึ้นบนไม้แข็งเช่นเดียวกัน
  • วัสดุอุปกรณ์
1. อาหารเพาะ
2. หัวเชื้อเห็ดลมและเห็ดขอนขาว
3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7"x13" 8"x13" หรือ 9"x13" ฯลฯ
4. คอพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
5. สำลี ยางรัด
6. ถังนึ่งไม้อัดความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใย และเปิดดอก
  • อาหารเพาะ
    • สูตรที่ 1
      • ขี้เลื่อยแห้ง (ไม้ยางพารา, ไม้มะขามฯลฯ) 100 กิโลกรัม
      • รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม
      • ปูนขาว หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือยิปซั่ม 0.5-1 กิโลกรัม
      • น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
      • ผสมน้ำ ปรับความชื้น 50-55 กิโลกรัม
    • สูตรที่ 2
      • ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม
      • แอมโมเนียมซัลเฟต 1 กิโลกรัม
      • ปูนขาว 1 กิโลกรัม
      • ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน
      • กลับกองประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับรำละเอียด 3 กิโลกรัม
      • น้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม
      • ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์
  • วิธีเพาะ
1. บรรจุอาหารเพาะลงในพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น สูงประมาณ 2/3 ของถุง
2. รวบปากถุง สวมคอพลาสติก พับปากถุงลงมา ดึงให้ตึง รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก
3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส สม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่งโมง จากนั้นทิ้งให้เย็น
4. นำถุงพลาสติกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว มาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ โดยทั่วไปจะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง เขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก และใส่ลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 15-20 เมล็ด โดยปฏิบัติในที่สะอาดไม่มีลมโกรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและแมลง
5. นำไปวางในโรงเรือนหรือสถานที่สำหรับบ่มเส้นใย อุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ
  • การเจริญของเส้นใยเห็ดลม
    เส้นใยเห็ดลมใช้เวลาในการเจริญเต็มอาหารเพาะน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ประมาณ 30-35 วัน จากนั้นเส้นใยจะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีส้ม
    จนถึงสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำ โดยเฉพาะเมื่อถูกอากาศและแสงระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยจนเริ่มให้ดอกเห็ด ขึ้นกับสายพันธุ์ โดยเฉลี่ยใช้เวลา
    ประมาณ 80-90 วัน
  • การเจริญของเส้นใยเห็ดขอนขาว
    คล้ายกับเห็ดลม แต่มีระยะเวลาการเจริญทางเส้นใยตั้งแต่เพาะเชื้อจนเริ่มให้ดอกเห็ด เฉลี่ย 20-30 วัน
  • โรงเรือนเปิดดอก
    โรงเรือนเปิดดอกเห็ดลมและเห็ดขอนขาว ควรให้มีแสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ประมาณ 60-70% มีช่องเปิดปิดสำหรับถ่ายเทอากาศ อาจใช้ตาข่ายพรางแสงมุงหลังคาและฝา และในกรณีฤดูฝน มุงหลังคาทับด้วยคา หรือวัสดุกันน้ำ
  • การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก
    เปิดจุกสำลี หรือตัดปากถุง วางในโรงเรือน ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อ ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80%
    ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอก จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือน
    ให้ลดลงมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ส่วนเห็ดขอนขาวจะทยอยให้ผลผลิต
  • การเก็บดอกเห็ด
    ควรเก็บส่วนต่างๆของดอก ให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการเน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเชื้อ ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นกับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดบาน

  • ที่มา  bansuanporpeang.com